สาระน่ารู้

บ้านมนเทียรทิพย์

สาระน่ารู้

บ้านมนเทียรทิพย์

หลักปฎิบัติ 5 ประการ ก่อนกู้เงินซื้อบ้าน

ประการแรก

สำรวจความพร้อม ของ ตัวเองก่อนตัดสินใจจะกู้เงินซื้อบ้าน โดยเฉพาะในเรื่องของ ฐานะ ทางการเงินว่ามั่นคงและมั่นใจพร้อมที่จะผ่อนบ้าน แล้ว หรือไม่ ในเบื้องต้นจำนวนเงินงวด ที่ผ่อนชำระ แต่ละเดือน นั้นไม่ควรเกินกว่า 30-40% ของรายได้ที่สำคัญ ต้องตรวจสอบดูว่าตัวเองเคยมีการติดค้างการชำระเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นค่างวดรถยนต์ ค่างวดเงินกู้อื่น ๆ ติดหนี้บัตรเครดิต หรืเคยจ่ายเช็คเด้ง เป็นต้น เพราะ ปัจจุบันสถาบันการเงินทุกแห่งต่าง เข้มงวดและตรวจสอบ ประวัติการเงินของผู้กู้ ทุกราย โดยจะใช้ฐานข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลเครดิต (Credit Bureau) เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์การอนุมัติสินเชื่อ หากเคยมีประวัติ เช่น นี้เรียกว่าติดแบล็คลิสท์ก็จะไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้

 

ในส่วนของผู้กู้ที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ควรจะสร้างเครดิตให้กับตนเองด้วยการเปิดบัญชีเงินฝาก เพื่อ แสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงินโดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือแม้แต่ผู้กู้ที่มีอาชีพประจำก็ตาม ควรจะปรับปรุงสมุดบัญชีเงินฝากเป็นประจำสม่ำเสมอ ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบความสามารถในการกู้และการผ่อนชำระก่อนได้ที่สถาบันการเงินทั่วไป รวมทั้ง เว็บไซด์ของสถาบันการเงินทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้รู้ถึงความสามารถของตน และ จัดเตรียมหาผู้กู้ร่วมไว้ก่อนในกรณีที่ไม่สามารถกู้เพียงคนเดียวได้

ประการที่สอง

หาแหล่งเงินกู้ที่สนใจจะใช้บริการ ซึ่งแหล่งเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม หลัก ๆ ด้วยกันคือ กลุ่มแรก สถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารออมสิน กลุ่มที่สอง ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ( บริษัทเงินทุน, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ) กลุ่มที่สาม บริษัทประกันชีวิตที่ให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

 

ในส่วนสถาบันการเงินของรัฐ เนื่องจากเป็นธนาคารของรัฐบาล จึงค่อนข้างได้รับความไว้วางใจ จากประชาชนทั่วไป และ อาจมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าสถาบันการเงินเอกชนได้เล็กน้อย

 

ส่วนธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเอกชน (บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์) มีการแข่งขัน ในตลาดสูงทำให้แต่ละแห่งเปิดให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลากหลายรูปแบบ ให้เลือกตามความต้องการ ตลอดจน การอำนวยความสะดวกด้านการบริการที่รวดเร็ว กลุ่มนี้จะมีต้นทุนในการดำเนินการที่สูง อัตราดอกเบี้ยจะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะรวด เร็วกว่าธนาคารของภาคของภาครัฐ

 

ขณะที่กลุ่มของบริษัทประกันชีวิต แม้จะสามารถให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย แก่ประชาชนทั่วไป ได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ หรือ สถาบันการเงิน แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข อาทิ ให้กู้ยืมได้แต่ละรายไม่เกิน 5,000,000 บาท หรือไม่เกิน 85% ของราคาปะเมินหลักทรัพย์ หรือ ราคาที่เสนอขาย ดังนั้นแหล่งเงินจากลุ่มนี้จึงอาจขาดความยืดหยุ่นในการให้บริการเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง ตรงนี้ก็แล้วแต่ว่าใครจะพึงพอใจเงื่อนไขข้อเสนอสินเชื่อจากสถาบันการเงินใด

ประการที่สาม

เงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินให้รอบคอบ ที่เห็นชัดเจนขณะนี้คือ การแข่งขัน ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ที่มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบคงที่ และลอยตัว หากผู้กู้ต้องการความมั่นใจ ว่าจะ ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ขึ้นลง การเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ จะทำให้ ผู้กู้สามารถวางแผนด้านการชำระเงินค่าบ้านได้อย่างชัดเจน... แต่ถ้าคิดว่าอัตราดอกเบี้ย มีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปกว่าอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ในปัจจุบัน ก็สามารถเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวได้

 

การจะพิจารณาเลือกแหล่งเงินกู้ หรือรูปแบบของบริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขอให้ผู้กู้คำนึงถึงความต้อง การและ เงื่อนไขความจำเป็นขงตนเองเป็นที่ตั้งจากนั้นพิจารณาดูว่าข้อเสนอของสาบันการเงินใด ที่ตรงกับเงื่อนไข ที่ตั้งไว้ ให้มากที่สุด ก็น่าจะช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ประการที่สี่

การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานสำคัญประกอบการยื่นเรื่องขอกู้เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นเรื่องขอกู้นั้นจะเหมือนๆ กันในทุกสถาบันการเงิน ที่สำคัญหลัก ๆ ประกบด้วย เอกสารแสดงข้อมูลส่วนตัว เอกสารแสดงรายได้ และเอกสารของหลักทรัพย์ ดังนี้

เอกสารแสดงข้อมูลส่วนตัว

• สำเนาบัตรประชาชน/ ข้าราชการ (ผู้กู้ทุกคน)

 

• สำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้ทุกคน (ทุกหน้า)

 

• สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/สกุล (ถ้ามี)

 

• สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร (ถ้ามี)

 

• แผนที่ตั้งที่พักอาศัยปัจจุบัน/ที่ทำงาน

 

• สำเนาสัญญากู้/สัญญาจำนอง/Statement/ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 12 เดือน (กรณีไถ่ถอนจำนอง)

เอกสารแสดงรายได้

กรณีประกอบอาชีพประจำ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/ลูกจ้างบริษัท

• ใบรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน/สลิปเงินเดือน

 

• สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร/ใบเสียภาษีเงินได้

 

• หลักฐานแสดงรายได้อื่น ๆ (ถ้ามี)

กรณีประกอบอาชีพอิสระ

• สำเนาทะเบียนการค้า/หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

 

• ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม/ใบเสียภาษีเงินได้

 

• Statement/บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน/บัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน

 

• โฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือ นส.3ก พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า (สำเนาทุกหน้า จำนวน 2 ชุด)

กรณีไถ่ถอนจำนองและชำระหนี้

แผนที่แสดงที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป

 

*การยื่นเอกสารที่ครบถ้วนตามที่สถาบันการเงินกำหนดไว้จะช่วยให้การพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาส่งเอกสารเพิ่มเติมภายหลัง

ประการสุดท้าย

ขอแนะนำว่าให้หาแหล่งเงินกู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่สนใจเผื่อไว้สัก 2-3 แห่ง เผื่อพลาดจากแห่งหนึ่ง ก็ยังมีอีก 2 แห่งที่จะให้คำตอบได้ แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้นหากมีข้อจำกัดในเรื่องที่สถาบันการเงินบางแห่ง อาจจะคิดค่า ธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักประกัน (บ้านที่จะซื้อ) ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ตรงนี้มีทางเลือกคือ ยังมีบางสถาบันการเงิน ที่ไม่คิดค่าบริการดังกล่าว ลองพิจารณาเงื่อนไขนี้ไว้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย

E-NEWS

รับข่าวสารและสิทธิพิเศษ สมัครเลยวันนี้!

PROJECTS

CONTACT

ที่อยู่: 2174 ถ.ลาดพร้าว

แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง

กทม. 10310

CONNECT

FOLLOW US ON SOCIAL NETWORK

EMAIL: mahavis.co@gmail.com

บริษัท:  02 530 0424

© 2016 Mahavis Co.,Ltd. All Rights Reserved.    |    บริษัท มหาวิศว์ จำกัด    |     PRIVACY POLICY